|
|
|
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านช้าง เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอสองพี่น้อง สำหรับประชาชนในหมู่บ้านนั้นเล่า
ถึงประวัติความเป็นมาของตำบลบ้านช้าง ว่าเดิมทีสมัยก่อนเป็นป่ามีพื้นที่หลายร้อยไร่ และมีช้างอาศัยอยู่จำนวนมาก เรียกว่าเป็นบ้านของช้างเลยทีเดียว ต่อมาชาวบ้านก็เข้ามาตัดล้างถางป่าให้เป็นพื้นที่อาศัยและทำนา ทำไร่ จึงทำให้ช้างที่อาศัยอยู่ก็ลดน้อยลงและหนีหายไป เมื่อมีคนมาอาศัยมากขึ้นจนพื้นที่กลายเป็นทุ่งนาเสียส่วนใหญ่ และด้วยพื้นที่เดิมมีช้างอาศัยอยู่มาก่อนชาวบ้านจึงให้ชื่อว่า บ้านช้าง ต่อมาพื้นที่แห่งนี้ได้พัฒนาขึ้นได้จัดตั้งเป็นตำบลหมู่บ้าน จึงให้ชื่อตำบลว่า บ้านช้าง |
|
|
|
|
|
 |
|
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านช้าง ประกาศ
ยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539 |
|
|
|
|
 |
|
ตำบลบ้านช้างเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอสองพี่น้อง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของที่ว่าการอำเภอสองพี่น้อง
มีระยะทางห่างจากตัวอำเภอ ประมาณ 42 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 26.7 ตารางกิโลเมตร (16,687.50 ไร่) |
|
|
|
|
|
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ตำบลกฤษณา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี |
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ตำบลเทพมงคล อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ตำบลบ้านกุ่ม และ ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี |
|
|
ตำบลกฤษณา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี |
ตำบลบ้านกุ่ม และตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี |
|
ตำบลเทพมงคล
อำเภอบางซ้าย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี |
|
|
|
|
 |
|
ลักษณะภูมิประเทศ เป็นเขต อากาศร้อนชื้น พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
อาทิเช่น ปลา และกุ้ง มีแม่น้ำท่าจีนหรือแม่น้ำสุพรรณบุรี และคลองชลประทานไหลผ่าน |
|
|
|
|
 |
|
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาประมง และปศุสัตว์ มากน้อยตามลำดับ |
|
|
|
|
|
|
อยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุม 2 ชนิด คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือปกคลุมในช่วงฤดูหนาว ทำให้จังหวัดสุพรรณบุรี
ประสบกับสภาวะหนาวเย็นและแห้งกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งพัดปกคลุม
ในช่วงฤดู
ฝน ท้าให้มีฝนและอากาศชุ่มชื้น |
|
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 3,096 คน แยกเป็น |

 |
ชาย 1,492 คน |
คิดเป็นร้อยละ 48.19 |

 |
หญิง 1,604 คน |
คิดเป็นร้อยละ 51.81 |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 115.96 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
1 |
บ้านแหลม |
193 |
202 |
395 |
2 |
บ้านช้าง |
244 |
250 |
494 |
3 |
บ้านลาดบัว |
324 |
332 |
656 |
4 |
บ้านย่านซื่อ |
438 |
478 |
916 |
5 |
บ้านดอนตายี่ |
293 |
342 |
635 |
รวม |
1,492 |
1,604 |
3,096 |
|
|